docid
stringlengths
3
10
title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
31.2k
669#54
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์แห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นสถานที่ที่นักศึกษาและประชาชนได้มาชุมนุมประท้วงกัน กรณีจอมพล ประภาส จารุเสถียร และจอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับมาประเทศไทย (หลังลี้ภัยออกนอกประเทศไปเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) และนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน[51]
669#55
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตึกโดม จิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ออกแบบด้วยการเชื่อมอาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม ต่อเข้าเป็นตึกเดียวกัน จุดเชื่อมอยู่ระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ตึกโดมได้รับการออกแบบให้โดนเด่นตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่น ปัจจุบัน ตึกโดมเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เพราะตึกฝั่งเหนือถูกทุบเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด และอาคารเอนกประสงค์ นอกจากนี้ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนตึกโดมเป็นโบราณสถาน และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกตึกโดมให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทสถาบันและอาคารสาธารณะ ในงานสถาปนิก 48 ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลดังกล่าวจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต[52]
669#56
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลานโพ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นสถานที่ซึ่งขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย[53]
669#57
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลานโพเป็นสถานที่เริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนหลายแสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516[54] และกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
669#58
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลานโพ ยังมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เมื่อ พ.ศ. 2519[55] คือ เป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามประโคมข่าวว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่าง ๆ จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา และประชาชน[55]
669#59
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลานปรีดี และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงปรีดี พนมยงค์[56] รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวนการเสรีไทย และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
669#60
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช[57] เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงใน พ.ศ. 2325 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้น จึงมีการขุดพื้นดินต่าง ๆ และจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่ากาลครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า
669#61
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนึ่ง นักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คือ วังหน้า มีความหมายว่า สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบันทางอำนาจและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา[57]
669#62
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สนามฟุตบอล เป็นสถานที่ที่เป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการจัดชุมนุมใหญ่ของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ในระหว่างวันที่ 10–14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยการเคลื่อนไหวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน[58]
669#63
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กำแพงเก่า ปืนใหญ่ และประตูสนามหลวง
669#64
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กำแพงเก่า คือ กำแพงด้านถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกกันว่า "กำแพงชรา" คือ กำแพงของพระราชวังบวรสถานมงคลที่เหลืออยู่ แต่เดิมกำแพงชราจะมีทั้งด้านถนนพระจันทร์และด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวง โดยมีประตูป้อมตรงหัวมุมถนนท่าพระจันทร์–หน้าพระธาตุ เชื่อมกำแพงทั้งสองด้านและเป็นประตูสำหรับการเข้าออก ต่อมาในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี กำแพงและประตูป้อมด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวงได้ถูกรื้อลงเพื่อก่อสร้างหอประชุมใหญ่
669#65
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใน พ.ศ. 2527 ได้มีการจัดสร้างประตูป้อมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมฉลองการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบรอบ 50 ปี ในการก่อสร้างประตูป้อมในครั้งนั้น ได้มีการขุดค้นพบปืนใหญ่ของวังหน้าจำนวน 9 กระบอก ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้าทาง โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้นำขึ้นมาบูรณะแล้วจัดตั้งแสดงไว้ที่ริมรั้วหน้าหอประชุมใหญ่ด้านสนามหลวง
669#66
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หอประชุมใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ในราว พ.ศ. 2506 โดยหอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น[59] ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น หอประชุมเล็ก อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า หอประชุมศรีบูรพา ตามนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย
669#67
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หอประชุมใหญ่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัยและนักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็นสถานที่ที่มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมืองและสังคม ผ่านการอภิปรายและการจัดนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นเสมือนด่านหน้าในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาลการเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[59]
669#68
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อยู่ลานกว้างด้านหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยชิ้นงานประติมากรรมที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประชาธิปไตยที่ผ่านมา[60] โดยสวนประติมากรรมแห่งนี้เป็นสวนประติมากรรมกลางแจ้ง มีประติมากรรม 8 ชิ้น ใน 11 เหตุการณ์สำคัญ เพื่อความเข้าใจที่กระชับลงตัว โดยให้ผลงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งรวม 3 เหตุการณ์ไว้ด้วยกัน มีประติมากรรม ได้แก่ การอภิวัฒน์ 2475, การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย, ขบวนการนักศึกษา พ.ศ. 2494–พ.ศ. 2500, ยุคสายลมแสงแดดและยุคแสวงหา, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ ประติมากรรมเป็นฝีมือของสุรพล ปัญญาวชิระ
669#69
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่เดิมท่าพระจันทร์นี้ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีด้วย แต่ในปัจจุบันหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวได้ขยายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตแล้วตามนโยบายมหาวิทยาลัย เหลือเพียงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรควบปริญญาตรี–โท และปริญญาตรีโครงการพิเศษ
669#70
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงของการพิจารณาขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิตดังกล่าวนั้น ได้มีการต่อต้านอย่างหนักจากประชาคมธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และชุมชนท่าพระจันทร์[61][62] (ดูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์)
669#71
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 1,757 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน”[63] โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง
669#72
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดีในขณะนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินทุ่งรังสิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีใน พ.ศ. 2518 ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ มหาวิทยาลัยจึงวางแผนการขยายวิทยาเขตไปที่ชานเมือง
669#73
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์อาคารโดมบริหาร และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และปลูกต้นยูงทอง ณ บริเวณอาคารโดมบริหาร พร้อมทั้งทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในคราวเดียวกันด้วย และต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2528 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528 จึงเป็นคณะแรกที่เปิดสอนที่ศูนย์รังสิต ในปีการศึกษา 2529
669#74
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณค่าก่อสร้างจากรัฐบาลญี่ปุ่น และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร[64]
669#75
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต่อมาใน พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณเดียวกับองค์พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อพระ จำนวน 4 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า .พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอพระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542[65] และต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระดังกล่าว ภายในศูนย์ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียนต่าง ๆ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาคารอำนวยการ อาคารบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา โรงพิมพ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ร้านอาหาร ร้านค้าและธนาคาร กลุ่มหอพักนักศึกษาและบุคลากร โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาคารระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้าย่อย และโรงบำบัดน้ำเสีย ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[66] ซึ่งเป็นศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นสนามกีฬารองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 และ กีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2550 ปัจจุบัน ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2548 วันที่ 20 มิถุนายน 2548 ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรภาคปกติทุกกลุ่มวิชา โดยเริ่มต้นสำหรับนักศึกษาที่รับเข้าในปีการศึกษา 2549 และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
669#76
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง–เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ "อาคารสิรินธรารัตน์"
669#77
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์พัทยา หรือ ศูนย์ถาวร–อุษา พรประภา: ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 565 ไร่ เป็นที่ตั้งของ อุทยานการเรียนรู้ และวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยประกอบไปด้วยหลักสูตร AUTO-TU และ TU-PINE บางสาขาวิชา [67]
669#78
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภายในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น นอกจากเป็นที่ตั้งของคณะต่าง ๆ แล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ ดังนี้
669#79
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินไทยปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ ศูนย์รังสิต ในความดูแลของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา[68] สืบเนื่องจากการที่คณะฯ ได้รับโบราณวัตถุจากการขุดค้นภาคสนามในโครงการขุดค้นวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่บ้านอ้อมแก้วและบ้านธาตุ จังหวัดอุดรธานี และมีโบราณวัตถุเพิ่มเติมขึ้นจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ในช่วงระยะเวลาต่อมา อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์อยู่ในพื้นที่จัดแสดงทั้งหมดราว 400 ตารางเมตร บนชั้น 2 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าถึงชีวิตนายปรีดี พนมยงค์ และสะท้อนวิวัฒนาการทางการเมืองของไทย ทั้งยังแฝงบางแง่มุมของอุดมการณ์ที่ควรค่าแก่การเอาเยี่ยงอย่าง[69] หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในพื้นที่จัดแสดง บนชั้น 3 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของมหาวิทยาลัย แสดงถึงตัวตนและจิตวิญญาณมหาวิทยาลัยซึ่งมีส่วนสร้างสรรค์จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทเคียงข้างสังคมไทยสมัยใหม่ และยังเป็นแหล่งสืบค้น และศูนย์รวมข้อมูลของประชาคมธรรมศาสตร์[70]
669#80
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีการศึกษา แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และโครงการบูรณาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลา 5 ปีการศึกษา ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6 ปีการศึกษา
669#81
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตลอดระยะเวลาการเรียนนอกจากการเรียนวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยและวิชาบังคับเลือกของสาขาวิชาแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกเสรีหรือวิชาโทข้ามคณะและสาขาวิชาได้อย่างเสรี ยกเว้นหลักสูตรที่ด้วยสภาพการณ์แล้วไม่สามารถทำได้ เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นต้น นอกจากการพบปะกันในคณะหรือสาขาวิชาแล้ว ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชุมนุมชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้ากลุ่มของคณะ การเล่นกีฬา และสำหรับคณะหรือสถาบันที่มีระบบโต๊ะกลุ่มหรือระบบบ้าน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ยังมีโอกาสที่จะได้พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่โต๊ะกลุ่มหรือบ้านได้อีกด้วย
669#82
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกิจกรรมนักศึกษา 1.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การของนักศึกษา โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา 2.สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต คือ รังสิต ท่าพระจันทร์ และ ลำปาง ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง–ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของแต่ละศูนย์ หากมีเรื่องเร่งด่วนจะมีการประชุมสภาทั้งหมด โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา 3.คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กพน.) กำกับดูแลหอพักนักศึกษา โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน 4.คณะกรรมการนักศึกษา คณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะมีทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและเป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ
669#83
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังประกอบด้วยชุมนุมชมรต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 ฝ่าย[71] ดังต่อไปนี้
669#84
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ ชุมนุมสันทนาการ (กองสันทนาการ ; RCATU) ชุมนุมเชียร์ ชุมนุมศิลปะและการแสดงแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Drama Club Thammasat) ชุมนุมถ่ายภาพ (Photo Club) ชุมนุมดนตรีไทย ชุมนุมดนตรีสากลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU Band) ชุมนุมดุริยางค์สากลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUSO) ชุมนุมขับร้องและประสานเสียง (TU Chorus) ชุมนุมโฟล์คซอง (TU Folksong) ชุมนุมวรรณศิลป์ ชมรมโดมทักษิณ ชมรมนักศึกษาชาวเหนือ ชมรมนักศึกษาอีสาน ชุมนุมปาฐกถาและโต้วาที ชุมนุมปาฐกถาภาษาอังกฤษ (Debate Club) ชมรมโบราณคดีและไทยศึกษา และชมรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร (TACTU)
669#85
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายศาสนาและจริยธรรม ได้แก่ ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน ชมรมมุสลิม ชมรมคาทอลิก และชมรมคริสเตียน
669#86
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ ได้แก่ ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชนบท ชุมนุมพัฒนาชายหญิงเพื่อสังคม (Youth Club) ชุมนุมสังคมพัฒนา ชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ชุมนุมค่ายอาสาพัฒนาชาวไทยภูเขา ชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์ ชมรมอนุรักษ์นกและศึกษาธรรมชาติ ชมรมสิทธิมนุษยชน ชมรมนักศึกษาโครงการเรียนดีจากชนบท ชมรมวิทยุและกระจายเสียง และชุมนุมยูทฟอร์เน็กซ์สเต็ป (Youth for Next Step)
669#87
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฝ่ายกีฬา ได้แก่ ชุมนุมกรีฑา ชุมนุมกีฬาในร่ม ชุมนุมคาเต้-โด ชมรมเทควันโด ชุมนุมยูโด ชุมนุมแบดมินตัน ชุมนุมเทเบิลเทนนิส ชุมนุมลอนเทนนิส ชุมนุมฟุตบอล ชุมนุมรักบี้ฟุตบอล ชุมนุมบาสเกตบอล ชุมนุมวอลเลย์บอล ชุมนุมซอฟท์บอลและเบสบอล ชุมนุมตะกร้อ ชุมนุมเปตอง ชุมนุมกีฬาทางน้ำ ชุมนุมฟันดาบสากล ชุมนุมยิงปืน ชุมนุมยิงธนู ชุมนุมกีฬาลีลาศ ชุมนุมเพาะกาย ชมรมมวย ชุมนุมกอล์ฟ ชมรมมวยไทย ชมรมฟุตบอล ชมรมรักบี้ฟุตบอล ชมรมยิงปืน ชมรมตระกร้อ ชมรมยิงธนู ชมรมว่ายน้ำ ชมรมฟันดาบ ชมรมโปโลน้ำ ชมรมบาสเก็ตบอล ชมรมวอลเล่ย์บอล ชมรมเทควันโด และชมรมคาราเต้
669#88
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มอิสระ ได้แก่ กลุ่มอิสระล้อการเมือง กลุ่มอิสระลานสรรค์ กลุ่มอิสระไม้ขีดไฟ กลุ่มอิสระเพาะรัก กลุ่มอิสระสังคมนิยมประชาธิปไตย และกลุ่มลีดตลก ประจำงานฟุตบอลประเพณีฯ
669#89
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรรคการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพรรคการเมืองของนักศึกษาในปัจจุบัน คือ พรรคก้าวหน้า และ พรรคคนกันเอง ซึ่งเป็นผู้สมัครเลือกนายก อมธ. ส่วนสภานักศึกษา มี พรรคเพื่อนกัน พรรคเราธรรมได้ พรรคธรรมศาสตร์มั่นคง ส่วน พรรคที่เหลือจะถูกเปลี่ยนชื่อพรรคใหม่ หรือ อาจยุติบทบาทไม่ส่งผู้สมัครในบางปี เช่น พรรคปลุกโดม พรรครักธรรมศาสตร์ เป็นต้น แต่พรรคพรรคที่มีอายุยาวนานที่สุดของสภานักศึกษา คือ พรรคธรรมจักร (ยุบพรรค ปี 2558) ส่วน อมธ. คือ พรรคธรรมเพื่อโดม (ยุบพรรคในปี 2560) และในส่วนคณะกรรมการหอพักนักศึกษา มักมีผู้สมัครเพียงรายเดียวในการลงสมัคร
669#90
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชมรมชุมนุมในหอพัก ได้แก่ สโมสรนักศึกษาสภากาแฟ กลุ่มกิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ITTAG) กลุ่มพัฒนาศักยภาพ (R&DTC) และกลุ่มส่งเสริมคุณภาพชีวิต
669#91
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมชุมนุม และกลุ่มอิสระต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ยกเว้นชุมนุมสายกีฬาที่มีที่ทำการอยู่ ณ ศูนย์บริการการกีฬา อาคารยิมเนเซียม 7 และคณะกรรมการหอพักนักศึกษา ชมรมชุมนุมในส่วนของหอพักอยู่ภายในศูนย์ต่าง ๆ ที่หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ ศูนย์เหล่านี้เรียกว่า "น็อก" (NOC) เพราะเดิมเป็นที่พักคณะกรรมการโอลิมปิกส์แห่งชาติ (National Olympic Committee)
669#92
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดชระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพฝ่ายละหนึ่งปี ปกติจัดขึ้น ณ สนามศุภชลาศัย งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ เป็นการแข่งขันรักบี้ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 แต่ได้ยุติไประยะหนึ่ง และได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือกลุ่มตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯยังได้รับหน้าที่เป็น ผู้นำของขบวนพาเหรดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นผู้นำขบวนอัญเชิญธรรมจักร ผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน และที่สำคัญยังเป็นดรัมเมเยอร์อีกด้วย เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้าที่นำกองเชียร์ส่งเสียงเชียร์นักกีฬา โดยเฉพาะในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬา ธิดาโดม คือนางงามที่ชนะเลิศในการประกวดของสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ การประกวดธิดาโดมเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2516 โดยการเชิญสาวงามที่ไปเที่ยวงานในคืนนั้นขึ้นมาประกวด สโมสรฟุตบอลโดม หรือ โดม เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 ตามแนวนโยบายของอธิการบดี โดยแข่งขันอยู่ลีกอาชีพดิวิชั่น 2 โซนภาคกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งมีนโยบายเน้นใช้นักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยรวมถึงศิษย์เก่า และนักกีฬาอื่นๆ โดยมีสนามเหย้าอยู่ ณ สนามธรรมศาสตร์สเตเดียม ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
669#93
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ การแสดงคอนเสิร์ตร่วมของสถานศึกษา 3 แห่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานเพลงประจำ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งิ้วธรรมศาสตร์ การแสดงล้อเลียนเสียดสีการเมืองโดยดัดแปลงมาจากงิ้ว เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ที่ชุมนุมนาฏศิลป์ มักใช้เรื่องสามก๊กผสานกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น[72][73] โขนธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ พ.ศ. 2509 ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในความอุปถัมถ์ของ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80[74]
669#94
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Ambassador) เป็นผู้แทนนักศึกษาในการนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรหรือถ้วยพระราชทาน และเป็นดรัมเมเยอร์ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่จัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยในโอกาสต่าง ๆ เป็นผู้นำเสนอสินค้า วิทยากร พิธีกร เดินแบบ ให้แก่สถาบันและหน่วยงานสาธารณกุศล ทั้งยังเป็นผู้แทนนักศึกษาในการ ต้อนรับบุคคลสำคัญในงานของมหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและกิจกรรมของนักศึกษาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการเชิญชวนให้นักศึกษามาร่วมกันทำกิจกรรมกันมากขึ้น ธรรมศาสตร์แชริงเฟสติวัล (Thammasat Sharing Festival) หรือทียูแชริง (TU Sharing) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างกระแสให้นักศึกษาทุกคนรู้สึกว่า การทำความดีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ Share Idea with Idol, T-Shirt sharing, กิจกรรมปล่อยนก, บริจาคเงินเพื่อเด็กกำพร้า, คนพิการ, คนชรา, อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา, Best sharing award, ธรรมศาสตร์ตักบาตรเพื่อพ่อ และกิจกรรมนั่งสมาธิ โดยเริ่มจัดครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2552 โดยชมรมพัฒนาศักยภาพ R&DTC มีผู้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมดกว่า 3,000 คน บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นโครงการระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้บัณฑิตออกไปสู่ชุมชนและชนบท เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ และทำงานประสานร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานพัฒนาต่าง ๆ [75] โครงการนี้ดูแลโดย สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ศูนย์อาสาสมัคร เป็นหน่วยงานของกองกิจการนักศึกษา[76] มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมงานอาสาสมัคร และเป็นตัวกลางของงานอาสาสมัคร โดยจะเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานที่ต้องการอาสาสมัครและนักศึกษาที่ต้องการทำงานอาสาสมัคร[77] และยังมีการสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปของชั้นปีที่ 1 มีการปรับปรุงหลักสูตรจากการเรียนการสอนแบบฟังบรรยาย มาเป็นกระบวนการกลุ่มรวมทั้งการการเป็นอาสาสมัครก่อนจบการศึกษา[78] ธรรมศาสตร์ทำนา เป็นโครงการในความรับผิดชอบของฝ่ายการนักศึกษา[79] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่น ตลอดจนกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนา และที่มาของข้าว ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงบนแปลงนาพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ภายในศูนย์รังสิต โครงการนี้มีต้นแบบมาจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมการทำนานี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมใน 3 ขั้นตอน คือ การถอนกล้า ดำนา และเกี่ยวข้าว[80] ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้นั้นจะนำไปหุงเป็นอาหารมื้อแรกให้นักศึกษาใหม่ได้รับประทานในกิจกรรมการแสดงแสง สี เสียง ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ "ณ ดินแดนแห่งนี้มีตำนาน ขอเธอสืบสานจิตวิญญาณธรรม"[81] ซึ่งเป็นวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ด้วย และข้าวสารส่วนหนึ่งจะนำมาแบ่งบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[82]
669#95
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิตมีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนบริเวณรอบ ๆ มหาวิทยาลัย
669#96
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมีบริการหอพักสำหรับนักศึกษา คือ หอพักรัชดาภิเษก เขตตลิ่งชัน เดิมตั้งอยู่ ณ บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งเป็นบริเวณเขตพระราชฐาน เพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่นักศึกษาที่ยากจนและขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ ให้อยู่อาศัยในราคาย่อมเยาเพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษา[83] ต่อมาจึงได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน ทั้งนี้ พ.ศ. 2552 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งดูแลหอพักได้ปรับปรุงหอพักขึ้นใหม่ และจัดเก็บอัตราค่าใช้บริการค่อนข้างสูง ในปัจจุบันจึงมักจะเป็นที่พักอาศัยของบุคลากร และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นที่ต้องการที่พักในการเดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[84]
669#97
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับศูนย์รังสิต สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลระบบการจัดสรรที่พักอาศัยของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ได้ออกระเบียบให้นักศึกษาต้องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนราษฎร์ของตนเองเข้ามาในทะเบียนบ้านกลางของมหาวิทยาลัย[85] โดยนักศึกษาแต่ละคณะจะมีบ้านเลขที่ประจำคณะตนเองภายใต้ท้องถิ่นตำบลคลองหนึ่ง เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เช่น เลขที่ 99/3 หมู่ 18 สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และ 99/8 หมู่ 18 สำหรับคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยได้มีสวัสดิการที่พักสำหรับนักศึกษา หลายกลุ่ม และราคา ดังนี้
669#98
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ ประกอบไปด้วย อาคารหอพักแบบห้องเดี่ยว คือ พัก 2 คน ได้แก่ โซนซี 11 อาคาร โซนอี 2 อาคาร และอาคารหอพักแบบชุด คือ พัก 4 คน ได้แก่ โซนบี 8 อาคาร โดยทั้งสอบแบบมีอุปกรณ์ครุภัณฑ์ภายในห้องพัก ได้แก่ เตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ โทรศัพท์สายตรง ADSL โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องปรับอากาศ ราวพาดผ้า เครื่องตรวจจับควันไฟ ลานซักล้าง ห้องน้ำในตัวพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ลิฟท์โดยสาร ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ และบริการซักรีด สำหรับอาคารหอพักแบบชุด คือ โซนบี มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพิ่มเติมคือ แยกห้องน้ำห้องส้วม โต๊ะรับประทานอาหาร และชุดรับแขก
669#99
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนึ่ง อาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ มักมีปัญหาเรื่องการร้องเรียนค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง หรือการบริหารงานแบบธุรกิจเอกชนโดยไม่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม[86] แต่กระนั้นนักศึกษาก็แจ้งความประสงค์เข้าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก
669#100
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มอาคารหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือ หอพักใน แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ อาคารหอพักคู่โดม สำหรับนักศึกษาหญิง และอาคารหอพักเคียงโดม สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วยเตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ เครื่องตรวจจับควันไฟ ห้องน้ำรวม ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ห้องอ่านหนังสือรวม และบริการซักรีด อาคารหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่ฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเอ สำหรับนักศึกษาหญิง และฝั่งบี สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วย ตู้เย็น ไมโครเวฟ โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องทำน้ำร้อน–น้ำเย็น เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม โทรศัพท์สายตรงภายในหอ ฟรีอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ห้องฟิตเนส อุปกรณ์กีฬา และห้องน้ำในตัว กลุ่มอาคารทียูโดม-โดมเพลส เป็นกลุ่มอาคารหอพักกลุ่มใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยตัวกลุ่มอาคารอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ฝั่งตรงข้ามประตูเชียงราก เครื่องใช้มาตรฐานในห้องพักเหมือนกับกลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ แต่เพิ่มเติม โต๊ะเอนกประสงค์ โคมไฟ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ บริการหนังสือพิมพ์
669#101
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารทียูโดมยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 แต่ก็ได้เปิดให้นักศึกษาเข้าพักอาศัยแล้ว และเป็นอาคารหอพักที่ประสบปัญหาและข้อร้องเรียนเป็นอย่างมาก[87][88] ล่าสุดบริษัทผู้รับสัมปทานมีโครงการเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554[89]
669#102
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนึ่ง กลุ่มหอพักทั้งสี่กลุ่ม เป็นอาคารหอพักแบบแยกอาคารที่พักหญิง และอาคารที่พักชาย นักศึกษาไม่สามารถเข้าออกในอาคารที่พักของนักศึกษาต่างเพศได้ มีบริการรับทำความสะอาดภายในห้องพัก บริการให้เช่าเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ และตู้เย็น ทั้งนี้ กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ และกลุ่มอาคารหอพักใน มีเวลาเปิดปิดอาคารไม่ให้เข้าออกอาคาร คือ 05:00–24:00 นาฬิกา แต่สำหรับหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และกลุ่มอาคารหอพักทียูโดมเปิดให้เข้าออกได้ตลอดเวลา
669#103
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดสรรที่พักสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์รังสิต โดยปกติใช้วิธีการจับสลาก ไม่ได้ใช้การพิจารณาจากลำดับก่อนหลัง หรือความใกล้ไกลของภูมิลำเนา[90]
669#104
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีลักษณะคล้ายกับท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในอำเภอเมืองห้างฉัตร หรือใกล้เคียง ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนในตัวเมืองจังหวัดลำปาง ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหอพักสวัสดิการสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์ลำปาง[91] โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับกลุ่มอาคารหอพักใน ณ ศูนย์รังสิต
669#105
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดังนี้
669#106
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รถเมล์ สาย 1, 2, 3, 15, 25, 47, 53, 59, 60, 65, 70, 80, 82, 91, 203, 503, 507 และ 524 หรืออาจนั่งรถที่เส้นทางผ่านมายังพระบรมมหาราชวัง หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[92] รถตู้สาธารณะ ทุกสายที่ผ่านสนามหลวง โดยลงรถบริเวณสนามหลวง หรือสำนักงานศาลยุติธรรม ทางน้ำ โดยสารเรือสองแถวมาขึ้น ณ ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ หรือโดยเรือด่วนเจ้าพระยาธงทุกสีมาขึ้น ณ ท่าพรานนก (วังหลัง) แล้วลงเรือข้ามฟากมาขึ้น ณ ท่าพระจันทร์ รถส่วนตัว นอกจากบุคลากรแล้ว ในเวลาปกติมหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัวของนักศึกษา หรือบุคคลภายนอกเข้าจอดภายในมหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์นำรถยนต์ส่วนตัวมาอาจนำมาจอด ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แล้วเดินเข้าทางประตูท่าพระจันทร์ ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยอนุญาตให้นำรถเข้าจอดได้ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถนำรถเข้าจอดได้ ณ บริเวณรอบ ๆ สนามฟุตบอล หรืออาคารจอดรถใต้ดินฝั่งประตูท่าพระจันทร์
669#107
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สามารถเดินทางมาศูนย์รังสิต ได้หลายเส้นทางทั้งทางรถยนต์โดยผ่านถนนพหลโยธิน หรือ ทางพิเศษอุดรรัถยา และ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) โดยผ่านถนนเชียงราก/ถนนคลองหลวง รถเมล์ สาย 29 39 และ 510 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.85 จาก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ สาย ต.118 จาก รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต/รถไฟฟ้ามหานคร สถานีสวนจตุจักร รถตู้โดยสารปรับอากาศท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต และรถตู้โดยสารปรับอากาศจากฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รวมทั้งสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง สำหรับสถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยตั้งอยู่หลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปัจจุบันมีขบวนรถชานเมืองและธรรมดา หยุดรับส่งผู้โดยสาร 11 ขบวนต่อวัน
669#108
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับการเดินทางในมหาวิทยาลัย มีรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวี[93] บริการรับ–ส่งนักศึกษาและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และรถโดยสารขนาดเล็ก (สองแถว) ให้บริการในราคาประหยัด รถทั้ง 2 ประเภทให้บริการ 3 เส้นทางดังนี้
669#109
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สายที่ 1 หมู่บ้านนักกีฬา โซนซี – ศูนย์การประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต (ยิมเนเซียม 1) บริการ 07:30–19:00 นาฬิกา ทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เริ่มจากหมู่บ้านนักกีฬา โซนซี, อาคาร 14 ชั้น, เลี้ยวซ้ายไปทางหอพระธรรมฐิติศาสดา, โรงอาหารกลาง, กลับรถตรงวงเวียนศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา, อาคารบรรยายเรียนรวม 1, หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์, สำนักทะเบียนและประมวลผล, อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์, ยิมเนเซียม 4–6, คณะวิศวกรรมศาสตร์, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประตูเชียงราก 2, ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต (ยิมเนเซียม 1) แล้ววนกลับทางเดิม สายที่ 2 หมู่บ้านนักกีฬา โซนเอ – โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ บริการ 07:15–21:00 นาฬิกา ทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เริ่มจากหมู่บ้านนักกีฬา โซนเอ, หมู่บ้านนักกีฬา โซนบี, โรงอาหารทิวสนโดม, สำนักงานจัดการทรัพย์สิน/วงเวียนอินเตอร์โซน, โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย, อาคารกิจกรรมนักศึกษา, อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ, สถานีตำรวจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงอาหารกลาง, อาคารบรรยายเรียนรวม 1–4, ยิมเนเซียม 2, สนามเอเชียนเกมส์ปาร์ก, อาคารปิยชาติ, คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แล้ววนกลับทางเดิม สายที่ 3 หมู่บ้านนักกีฬา โซนเอ – ทียูโดม บริการ 07:00–21:00 ทุกวัน (สำหรับรถสองแถว ให้บริการถึง 23:00 น.) เริ่มจากหมู่บ้านนักกีฬา โซนเอ, หมู่บ้านนักกีฬา โซนบี, โรงอาหารทิวสนโดม, สำนักงานจัดการทรัพย์สิน/วงเวียนอินเตอร์โซน, โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โรงอาหารกลาง, หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์, อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์, ยิมเนเซียม 4–6, ประตูเชียงราก 1, ทียูโดม แล้ววนกลับทางเดิม
669#110
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้มีบริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับทางมหาวิทยาลัยไว้บริการในราคาประหยัดอีกด้วย
669#111
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนมากจะจัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร
669#112
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันปรีดี พนมยงค์ ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม ของทุกปี วันสถาปนามหาวิทยาลัย วันธรรมศาสตร์
669#113
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดูเพิ่มที่ รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
669#114
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกขบวนการเสรีไทย นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของไทย ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 และรัฐบุรุษอาวุโส ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สมาชิกขบวนการเสรีไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของไทย และประธานองคมนตรี
669#115
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใน พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย[94] ซึ่งมีเงื่อนไขส่วนหนึ่งว่าด้วยการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ต่อมา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของตน มีหลักการสคำคัญที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและคล่องตัวอันจะช่วยให้จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
669#116
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว[95] โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกำกับของรัฐเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการได้พิจารณาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้อง และได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ขึ้นมาฉบับหนึ่ง ใน พ.ศ. 2543 แล้วนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นเผยแพร่ให้ประชาคมธรรมศาสตร์แสดงความคิดเห็น
669#117
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2546 กำหนดหลักการกลาง 10 ประการที่ต้องมีในร่างพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทุกฉบับ[96] สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ส่งคืนมาให้มหาวิทยาลัยแก้ไข แต่มหาวิทยาลัยเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติสอดคล้องกับหลักการกลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแล้ว จึงไม่แก้ไขอีก และส่งร่างพระราชบัญญัติคืนให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
669#118
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก่อให้เกิดการคัดค้านและการตั้งคำถามต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย[97] เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะสนใจเพียงค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมการศึกษาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งกิจกรรมกลายเป็นธุรกิจมากขึ้น จนใส่ใจต่อสังคมน้อยลง หรือผู้บริหารจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการพิจารณาสัญญาจ้างและในการประเมินพนักงาน จนนำไปสู่ระบบเผด็จการของผู้บริหารหรือไม่[98]
669#119
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... และส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป[99]
669#120
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ เตรียมธรรมศาสตร์ (ต.มธก.) ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2481 มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น โรงเรียนเตรียมปริญญามีทั้งหมดรวม 8 รุ่น จนถึง พ.ศ. 2490 จึงถูกยกเลิกไป[100]
669#121
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัจจุบันได้มีค่าย "เตรียมธรรมศาสตร์" ซึ่งจัดโดย องค์การนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดตั้งเพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนหลายได้เข้ามาสัมผัสชีวิต การเป็นอยู่ การเรียนในมหาวิทยาลัยในรูปแบบธรรมศาสตร์ และบรรยากาศแบบดั่งเดิมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองของพระนคร 3 วัน 2 คืน จัดในช่วงต้นปีของทุกๆปี
669#122
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ คณะราษฎร ธรรมจักร (ตราประจำมหาวิทยาลัย) เพลงพระราชนิพนธ์ธรรมศาสตร์ (ยูงทอง) (เพลงประจำมหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หางนกยูงฝรั่ง (ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตึกโดม งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ โดม เอฟซี - สโมสรฟุตบอลอาชีพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โขนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา เหตุการณ์ 14 ตุลาคม เหตุการณ์ 6 ตุลาคม
669#123
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี หมวดหมู่:เขตพระนคร หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2477 หมวดหมู่:คณะราษฎร หมวดหมู่:เครือข่ายการศึกษาและการวิจัยแห่งลุ่มแม่น้ำโขง หมวดหมู่:สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2477
670#0
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ () เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น
670#1
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
670#2
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้อีกทั้งยังมีการทบทวนและตรวจสอบ
670#3
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
670#4
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ คือ การประยุกต์ใช้ระบบ กฎเกณฑ์ การเข้าถึงซึ่งสามารถวัดประเมินได้ในการพัฒนา การปฏิบัติการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ และในการศึกษาสิ่งเหล่านี้ ก็คือการประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมมาจัดการกับซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นแห่งแรก คือ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
670#5
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ข้อตกลงทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในการประชุมวิศวกรรมซอฟต์แวร์นาโต ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1968 และได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ "วิกฤติการณ์ซอฟต์แวร์" ในขณะนั้น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ก็ได้กลายมาเป็นศาสตร์และแขนงของการศึกษาเฉพาะ ในการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีราคาถูกลงเป็นที่ยอมรับได้ ดูแลรักษาได้ง่าย และพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้น ตั้งแต่นั้นก็ยังคงมีการเปรียบเทียบวิศวกรรมซอฟต์แวร์กับวิศวกรรมแขนงอื่น ยังคงมีการถกเถียงกันว่าวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่แท้จริงคืออะไร และวิศวกรรมซอฟต์แวร์สมควรเป็นหนึ่งในสาขาวิศวกรรมหรือไม่ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้ขยายวงกว้างอย่างไร้ขีดจำกัดไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรมเมอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ในบางครั้งข้อตกลงอาจขึ้นอยู่กับผู้ที่มีส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสร้างซอฟต์แวร์ แต่กระนั้นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ก็ยังเป็นที่ใฝ่ฝันของวัยรุ่นในการประกอบอาชีพ ในนิตยสาร Money Magazine ได้กล่าวว่า อาชีพในแขนงวิศวกรรมซอฟต์แวร์มีแนวโน้มอนาคตที่สดใส และในเว็บไซต์ Salary.com ได้กล่าวว่าอัตราเงินเดือนในอาชีพวิศวกรรมซอฟต์แวร์มีอัตราสูงที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2006
670#6
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ในบางสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น ในรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ใบอนุญาตของวิศวกรทางด้านซอฟต์แวร์ ในหลาย ๆ พื้นที่ในโลก ไม่มีกฎหมายควบคุมอาชีพวิศวกรทางด้านซอฟต์แวร์ แต่มีข้อกำหนดบางอย่างจาก สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค (Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE) และสมาคมคอมพิวเตอร์ (ACM) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ใน IEEE ได้กำหนดแนวทางไว้ในองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์เมื่อปี ๒๕๔๗ ได้กำหนดแนวทางและกำหนดกรอบความรู้ที่วิศวกรด้านซอฟต์แวร์ควรรู้ และยังกำหนดจรรยาบรรณของวิศวกรซอฟต์แวร์ และนอกจากนี้ IEEE ยังมีการตีพิมพ์พจนานุกรมว่าด้วยวิศวกรรมซอฟต์แวร์และวิศวกรรมระบบ
670#7
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ในปี 2004 ในสหรัฐอเมริกา สำนักแรงงานสถิติ นับ 760840 ซอฟต์แวร์วิศวกร ถืองานในสหรัฐอเมริกา; ในช่วงเวลาเดียวกันมีบาง 1.4 ล้านประกอบทำงานในสหรัฐอเมริกาในอื่น ๆ ทั้งหมดรวมวิศวกรรมฝึกหัด เนื่องจากความญาติเป็นความแปลกฟิลด์การศึกษาทางการศึกษาในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นั้นมักจะสอนเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และเป็นผล มากที่สุดซอฟต์แวร์วิศวกรถือด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์องศา
670#8
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ส่วนใหญ่ ซอฟต์แวร์วิศวกร ทำงานเป็นพนักงานหรือผู้รับเหมา วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับธุรกิจหน่วยงานราชการ (พลเรือนหรือทหาร) และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร บางซอฟต์แวร์วิศวกรสามารถทำงานด้วยตนเองได้ บางองค์กรมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละดำเนินงานใน องค์กรอื่น ๆ ต้องทำวิศวกรซอฟต์แวร์จำนวนมากหรือทั้งหมดของพวกเขา มากในโครงการคนอาจชำนาญในเดียวบทบาท โครงการขนาดเล็กคนอาจกรอกหลายหรือทั้งหมดบทบาทในเวลาเดียวกัน Specializations ประกอบด้วย: ในอุตสาหกรรม (นักวิเคราะห์ สถาปนิก นักพัฒนา ทดสอบ การสนับสนุนทางเทคนิค ผู้จัดการ) และในด้านวิชาการ (นักวิชาการศึกษา นักวิจัย)
670#9
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
มีความถกเถียงในอนาคตโอกาสการจ้างงานสำหรับวิศวกรและซอฟต์แวร์อื่น ๆ ไอที ผู้เชี่ยวชาญด้าน ตัวอย่างเช่นออนไลน์ล่วงหน้าตลาดที่เรียกว่า "อนาคตของ ITJOBS ไอทีงานในอเมริกา" พยายามตอบว่าจะมีเพิ่มเติมไอทีงานรวมทั้งซอฟต์แวร์วิศวกรในกว่า 2012 มีใน ค.ศ. 2002
670#10
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
การรับรองวิชาชีพของ วิศวกรซอฟต์แวร์ ยังเป็นเรื่องโต้แย้งกันอยู่ บ้างก็เห็นว่าใบรับรองเป็นเครื่องมือสำหรับยกระดับหลักปฏิบัติของมืออาชีพ และ "วัตถุประสงค์ของการให้ใบรับรองวิชาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ เป็นการปกป้องสาธารณะ" สมาคมคอมพิวเตอร์หรือ ACM มีการรับรองวิชาชีพในปี 1980 และถูกยกเลิกไปเนื่องจากขาดความสนใจ ACM ได้มีการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการรับรองวิชาชีพ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปี 1990 แต่ในที่สุดการรองดังกล่าวก็ถูกตัดสินว่าไม่เหมาะสมในเรื่องการรับรองวิชาชีพในอุตสาหกรรมของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในปี 2006 สมาคม IEEE ได้มีการรับรองวิชาชีพซอฟต์แวร์เกิน 575 ราย ในประเทศแคนาดา Canadian Information Processing Society ได้สร้างกฎหมายที่รู้จักเพื่อรองรับอาชีพข้อมูลระบบผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ได้ให้การรับรองที่ระบุหัวข้อขึ้น เช่นความปลอดภัย การปรับปรุงกระบวนการของสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ การรับรองโปรแกรมส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมไอทีเป็นการรับรองเชิงเฉพาะด้านเทคโนโลยี และมีการจัดการโดยผู้ขายเทคโนโลยีเหล่านี้ โปรแกรมเหล่านี้มีการรับรองที่เหมาะสมกับสถาบันที่จะว่าจ้างให้บุคคลที่ใช้กับเทคโนโลยีนั้น
670#11
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
นักศึกษาหลายคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความกลัวและได้หลีกเลี่ยงที่จะมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์เนื่องจากเกิดความกลัวเรื่องการจ้างงานจากภายนอกประเทศ offshore outsourcing (การนำเข้าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หรือบริการจากต่างประเทศ) และการย้ายที่อยู่ การต้องเดินทางไปทำงานต่างชาติ ทั้ง ๆ ที่รัฐบาล ไม่ได้แสดงสถิติการคุกคามถึงวิศวกรรมซอฟต์แวร์ อาชีพที่เกี่ยวข้อง กระบวนการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ดูเหมือนว่าจะไม่ปรากฏให้เห็น บ่อยครั้งมีจำนวนหนึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นเป็นโปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการ เลื่อนขั้นให้เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ดังนั้น อาชีพทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์มีความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ
670#12
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
บางครั้งที่ปรึกษามักแนะนำนักศึกษาให้สนใจในเรื่องของ "ทักษะบุคคล" และทักษะองค์กร มากกว่าทักษะด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว เพราะ "ทักษะเบื้องต้น" นี้ จะถูกนำไปใช้มากกว่าทักษะในระดับที่ยากมากขึ้น มันมีมุมมองด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ดูเหมือนจะเริ่มต้นการจำกัดโดยโลกาภิวัฒน์มากยิ่งขึ้น
670#13
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับอาชีพของวิศวกรซอฟต์แวร์ แต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่วิศวกรซอฟต์แวร์มีวุฒิการศึกษาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอดีตยังไม่ค่อยมีหลักสูตรการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามได้มีการเริ่มมีหลักสูตรสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เปิดสอนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2004 ได้คณะวิชาการกลุ่มหนึ่งได้พัฒนาหลักสูตรต้นแบบ () สำหรับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระดับปริญญาตรี เรียกว่า SE2004 เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล การพัฒนาหลักสูตรต้นแบบดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมาคม ACM และสมาคมคอมพิวเตอร์แห่ง IEEE
670#14
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
ในปี ค.ศ. 1998 มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแห่งนาวาล (Naval Postgraduate School) ในสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นครั้งแรกในโลก Steve McConnell ได้ให้ความเห็นว่า เป็นเพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการเรียนการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์มากกว่าวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จึงทำให้ขาดแคลนวิศวกรซอฟต์แวร์ที่แท้จริง ในปี ค.ศ. 2004 สมาคมคอมพิวเตอร์แห่ง IEEE ได้พัฒนา องค์ความรู้ สำหรับสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หรือเรียกว่า Software Engineering Body of Knowledge จนได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO (ISO/IEC TR 19759:2005)
670#15
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
European Commission ภายในโปรแกรม Erasmus Mundus สำหรับนักศึกษาจากยุโรป และประเทศอื่น ๆ. นี่เป็นการร่วมกันของ4มหาวิทยาลัยในยุโรป
670#16
วิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกไปได้อีก 10 สาขาวิชาย่อย คือ
671#0
การเมืองไทย
การเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร คสช.ออกประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาบางประเภท และกรณีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. (ประกาศที่ 37/2557)
671#1
การเมืองไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประเทศไทยปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากการถ่วงดุลอำนาจ ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตุลาการ มีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ
671#2
การเมืองไทย
ส่วนใหญ่ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมปกครองประเทศ
671#3
การเมืองไทย
ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมห่กษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 20 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว
671#4
การเมืองไทย
ก่อนหน้าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยยังไม่มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์และประมุขฝ่ายบริหาร ในปี พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษร โดยคาดว่าจะเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมีอิทธิพล จึงได้เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2477 รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการฉบับแรกของประเทศถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
671#5
การเมืองไทย
กฎบัตรและรัฐธรรมนูญทั้งหมดของประเทศไทยรับรองว่าประเทศปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่มีสมดุลของการแบ่งแยกอำนาจแตกต่างกันมาก รัฐบาลไทยส่วนใหญ่ปกครองแบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญบางฉบับถูกเรียกว่าเป็นเผด็จการ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2500 ประเทศไทยได้เคยใช้ทั้งระบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ และสมาชิกรัฐสภามีทั้งแบบเลือกตั้งและแต่งตั้ง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเช่นกัน
671#6
การเมืองไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ได้มีการประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) อย่างไรก็ตาม มีการอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เป็นต้นเหตุของความยุ่งยากทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความโดดเด่นในด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับความเป็นประชาธิปไตยในตัวกฎหมาย นอกจากนี้ยังบัญญัติให้สมาชิกของทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีการรับรองสิทธิมนุษยชนจำนวนมากตามกฎหมาย และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ขณะที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
671#7
การเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ถูกยกเลิก คณะรัฐประหารได้ประกาศกฎอัยการศึกและรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นปกครองประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาให้คณะรัฐประหารมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ฝ่ายนิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ คณะรัฐประหารถูกบีบให้ยินยอมจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นและเทศบาลเป็นปกติในปี พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีการประกาศใช้หลังลงประชามติ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาจากคณะรัฐประหารปี 2549 ทั้งนี้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมาจากการสรรหา
671#8
การเมืองไทย
ภายหลังความขัดแย้งทางการเมืองช่วงปี 2556-2557 เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 พร้อมกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ภายใต้การควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐประหารประกาศกฎอัยการศึกและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งผ่านการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 และแก้ไขตามข้อสังเกตพระราชทานจำนวน 3 มาตราโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
671#9
การเมืองไทย
รัฐบาลไทยมีบทบาทขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัฐชาติอันสถานปนาขึ้นครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวภายหลังทรงผนวกดินแดนและอาณาจักรภายใต้ปกครองของอาณาจักรสยามขึ้นเป็นสยามประเทศ แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
671#10
การเมืองไทย
สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นองค์กรบริหารอำนาจนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินสองร้อยยี่สิบคนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน รวมกันไม่เกิน 36 คน ส่วนศาลไทยเป็นองค์กรบริหารอำนาจตุลาการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
671#11
การเมืองไทย
นโยบายการต่างประเทศของไทยรวมไปถึงการสนับสนุนอาเซียน เน้นเสถียรภาพในภูมิภาค และให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพอันยาวนานกับสหรัฐอเมริกา
671#12
การเมืองไทย
ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทเต็มในองค์กรทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ โดยได้พัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการจัดการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงเศรษฐกิจทุกปี ความร่วมมือในภูมิภาคกำลังดำเนินการทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การเมืองและวัฒนธรรม ประเทศไทยยังได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก, อัฟกานิสถาน, อิรัก, บุรุนดี และปัจจุบัน ในดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน อีกด้วย