year
stringclasses 4
values | no
int64 1
50
| instruction
stringlengths 39
703
| input
stringlengths 23
651
⌀ | result
int64 1
4
| isAnswerable
bool 1
class | isMultipleChoice
bool 1
class | isSingleChoiceSolution
bool 1
class | SolutionExplain
stringlengths 33
1.26k
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
plain | 11 | ตัวเลือกใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม | 1. ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประเภทคงทนจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง 2. ธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการธนาคารจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว 3. ธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุดิบพื้นฐานจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงรุ่งเรืองถึงขีดสุด 4. ธุรกิจเกี่ยวกับบริการพื้นฐานจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะผ่านพ้นภาวะถดถอย | 3 | true | true | true | ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประเภทคงทนจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ช่วงฟื้นตัว ธุรกิจเกี่ยวกับการเงินการธนาคารจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังจะผ่านภาวะถดถอย ธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุดิบพื้นฐานจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงรุ่งเรืองสูงสุด ธุรกิจเกี่ยวกับบริการพื้นฐานจะมีความน่าสนใจลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอลง |
plain | 12 | ตัวเลือกใดไม่ใช่ ปัจจัยที่กำหนดการแข่งขันตามแนวคิด Porter’s five forces model | 1. สินค้าทดแทน 2. อำนาจการต่อรองกับลูกค้า 3. อำนาจการต่อรองกับรัฐบาล 4. แนวโน้มการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ | 3 | true | true | true | Porter's five forces model ประกอบด้วย แนวโน้มการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ อำนาจต่อรองกับลูกค้า อำนาจต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบ สินค้าทดแทน และคู่แข่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน |
plain | 13 | บริษัท A มีสินทรัพย์รวม และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเท่ากับ 200 ล้านบาท และ 140 ล้านบาทตามลำดับ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนของบริษัทจะเท่ากับเท่าใด | 1. 1.2 เท่า 2. 2.0 เท่า 3. 2.4 เท่า 4. 3.0 เท่า | 2 | true | true | true | หาสินทรัพย์หมุนเวียน = 200 ลบ. - 140 ลบ. = 60 ลบ. หาหนี้สินหมุนเวียน = 200 ลบ. - 110 ลบ. - 60 ลบ. = 30 ลบ. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = 60 ลบ./ 30 ลบ. = 2 เท่า |
plain | 14 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ตามทฤษฎีดาว | 1) หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองครั้งต่อมาต่ำกว่าครั้งก่อน แสดงว่าแนวโน้มใหญ่ระยะยาวเริ่มดีขึ้น 2) หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองครั้งต่อมาสูงกว่าครั้งก่อน แสดงว่าแนวโน้มใหญ่ในระยะยาวเริ่มไม่ดี 3) หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองปรับตัวลดลงแต่ยังคงเหนือระดับที่ลดลงก่อนหน้า แสดงว่าแนวโน้มใหญ่ระยะยาวยังดีอยู่ 4) หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองปรับตัวลดลงทั้งจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด แสดงว่าแนวโน้มใหญ่ระยะยาวกำลังจะเริ่มปรับขึ้น | 3 | true | true | true | หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองครั้งต่อมาต่ำกว่าครั้งก่อน หรือระดับราคาหุ้นปรับตัวลดลงทั้งจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดแสดงว่า แนวโน้มใหญ่ระยะยาวมีการปรับตัวลดลง หากระดับราคาหุ้นในแนวโน้มรองครั้งต่อมาสูงกว่าครั้งก่อนแสดงว่า แนวโน้มใหญ่ในระยะยาวยังคงต่อเนื่องอยู่ |
plain | 15 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่านธนาคารพาณิชย์ | 1. FX Forward 2. USD Futures 3. FX Options 4. Cross Currency Swaps | 2 | true | true | true | เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่านธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ FX Forward, FX Options และ Cross Currency Swaps ส่วน USD Futures เป็นเครื่องมือ การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผ่านตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า |
plain | 16 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ องค์ประกอบในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย fair dealing | 1. กระบวนการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนให้แก่ลูกค้า 2. กระบวนการขายที่เป็นธรรม และเพื่อประโยชน์ของลูกค้า 3. กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ 4. กระบวนการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และการจัดกลุ่มลูกค้า | 1 | true | true | true | องค์ประกอบในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย fair dealing มี 8 ด้าน คือ 1. การจัดโครงสร้างองค์กร บทบาทของคณะกรรมการ และหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง 2. การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ และการจัดกลุ่มลูกค้า 3. การสื่อสาร และการให้ความรู้แก่คนขาย 4. กระบวนการขาย 5. การกำหนดวิธีการจ่ายค่าตอบแทน 6. การจัดการเรื่องร้องเรียน 7. การควบคุมภายใน และการตรวจสอบการปฏิบัติงาน 8. ระบบปฏิบัติการ และแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน |
plain | 17 | ในกรณีเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน ต้องจัดทำ knowledge assessment เพิ่มเติมในด้านใดบ้าง I. การศึกษา II. สถานภาพทางการเงิน III. ประสบการณ์การทํางาน | 1. I และ II 2. I และ III 3. II และ III 4. I II และ III | 2 | true | true | true | ในกรณีเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน ต้องจัดทำ knowledge assessment เพิ่มเติมในด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์การลงทุน ส่วนสถานภาพทางการเงินเป็นข้อมูลที่รวบรวมเพื่อทำความรู้จักกับลูกค้า |
plain | 18 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่แนวปฎิบัติในการขาย และการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ตราสารทุน | 1. การเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความคาดหวัง และเหมาะสมกับลูกค้า 2. การให้คำแนะนำที่ดี มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า 3. การไม่เอาเปรียบลูกค้า และมีความรับผิดชอบหลังการขาย และให้บริการ 4. การให้บริการในการลงทุนด้วยเงื่อนไขที่ดีที่สุดตามที่ลูกค้าแต่ละรายคาดหวัง | 4 | true | true | true | ตัวเลือก 1) 2) และ 3) เป็นแนวปฏิบัติในการขาย และการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ตราสารทุนที่ถูกต้อง ส่วนการให้บริการในการลงทุน หรือทำธุรกรรมก็เพื่อให้ได้รับเงื่อนไขดีที่สุดตามสภาพตลาด (best execution) ไม่ใช่ตามที่ลูกค้าแต่ละรายคาดหวัง |
plain | 19 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงรู้ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน | 1. รายชื่อหลักทรัพย์ในบัญชี watch list จะเปิดเผยให้หน่วยงาน และพนักงานทุกคนในบริษัทได้รู้ 2. ทรัพย์สินของลูกค้าต้องแยกออกจากบัญชีทรัพย์สินบริษัท โดยระบุในบัญชี watch list 3. บริษัทจะปลดรายชื่อหลักทรัพย์ออกจากบัญชี restricted list เมื่อความสัมพันธ์ หรือ deal สิ้นสุด 4. บริษัทจะย้ายรายชื่อหลักทรัพย์จากบัญชี restricted list ไปสู่บัญชี watch list เมื่อความสัมพันธ์ หรือ deal นั้น ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว | 3 | true | true | true | รายชื่อหลักทรัพย์ในบัญชี watch list จะเปิดเผยให้รู้เฉพาะหน่วยงาน และพนักงานที่มีความจำเป็นต้องรู้เพื่อการปฏิบัติงานเท่านั้น ส่วนทรัพย์สินของลูกค้าจะระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นบัญชีเพื่อลูกค้า ไม่ใช่บัญชี watch list บริษัทจะย้ายรายชื่อหลักทรัพย์จากบัญชี watch list ไปสู่บัญชี restricted list เมื่อข้อตกลงหรือการทำรายการนั้นได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว |
plain | 20 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ที่ผู้ทำหน้าที่ติดต่อผู้ลงทุนสามารถปฎิบัติได้ | 1. ชักชวน หรือให้คำแนะนำในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนทำธุรกรรมบ่อยครั้ง 2. รับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุน 3. ให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนในวงกว้างที่บริษัทที่ตนสังกัดเป็นผู้จัดจำหน่าย ในช่วง 5 วันทำการหลังวันปิดการขาย 4. สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือผู้ลงทุนโดยการจัดหาแหล่งเงินกู้นอกระบบให้เพื่อใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ | 3 | true | true | true | 1) ชักชวน หรือให้คำแนะนำในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนทำธุรกรรมบ่อยครั้ง เรียกว่า churning เป็นการกระทำในลักษณะเอาเปรียบลูกค้า 2) รับมอบหมายจากผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุนเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม 3) ให้คำแนะนำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนในวงกว้างในช่วง 5 วันทำการหลังวันปิดการขายสามารถทำได้ เพราะเป็นเหตุการณ์หลังปิดการขายไปแล้ว 4) สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือผู้ลงทุนโดยการจัดหาแหล่งเงินกู้นอกระบบให้เพื่อใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมยังผู้ประกอบวิชาชีพ |
plain | 21 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้เป็นการให้คำแนะนำที่ ไม่เหมาะสม | 1. ให้คำแนะนำโดยมีบทวิเคราะห์ หรือเอกสารสนับสนุนอ้างอิง 2. ให้คำแนะนำที่มีความสำคัญ และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน 3. ให้คำแนะนำจากผลการวิเคราะห์ข่าวโดยแจ้งถึงแหล่งที่มาของข่าว 4. ให้คำแนะนำตามข่าวลือ โดยแสดงความเห็นถึงความน่าเชื่อถือของข่าว | 4 | true | true | true | ไม่ให้คำแนะนำโดยที่ไม่มีบทวิเคราะห์ ไม่มีความเห็นส่วนตัว และตามข่าวลือ โดยต้องให้คำแนะนำที่มีความสำคัญ และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หากเป็นการให้คำแนะนำซึ่งเป็นผลมาจากผลการวิเคราะห์ข่าว ต้องแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข่าวด้วย |
plain | 22 | ตัวเลือกใด ไม่ใช่ บทลงโทษทางปกครอง กรณีที่ผู้ทำหน้าที่ติดต่อผู้ลงทุนไม่ได้ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ | 1. พักการปฎิบัติงานทั้งหมดภายในช่วงระยะเวลา 1 ปี 2. พักการให้ความเห็นชอบตามระยะเวลาที่กำหนด 3. เปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ทำหน้าที่ต่อไปได้ 4. เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ไม่สามารถทำหน้าที่อีกต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนด | 1 | true | true | true | บทลงโทษทางปกครองมี 3 ระดับ คือ เปิดเผยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พักการให้ความเห็นชอบ และเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ |
plain | 23 | ผู้ลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนในตราสารตลาดเงิน เนื่องจากมีความต้องการใช้เงินลงทุนระยะสั้น แสดงถึงรูปแบบของผลตอบแทนที่ต้องการแบบใด | 1. ผลตอบแทนรวม 2. การปกป้องเงินลงทุน 3. รายได้ประจำจากการลงทุน 4. การเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุน | 2 | true | true | true | "การปกป้องเงินลงทุน เป็นรูปแบบการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนที่เต็มใจรับความเสี่ยงน้อย หรือไม่มีความเต็มใจในการรับความเสี่ยงเลย เนื่องจากเงินลงทุนอาจเป็นเงินส่วนสุดท้ายที่เหลืออยู่ หรือมีความต้องการใช้เงินทุนในระยะสั้น จึงลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารตลาดเงิน |
plain | 24 | หากผู้รับคำปรึกษามีระดับความเต็มใจในการรับความเสี่ยงสูง แต่มีระดับความสามารถในการรับความเสี่ยงต่ำ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้รับคำปรึกษาควรอยู่ในระดับใด | 1. ต่ำ 2. กลาง 3. สูง 4. ไม่สามารถประเมินได้ | 1 | true | true | true | ในกรณีที่ระดับความเต็มใจในการรับความเสี่ยง และระดับความสามารถในการรับความเสี่ยงไม่ สอดคล้องกัน ควรให้ความสำคัญกับระดับที่ต่ำที่สุดในการให้คำแนะนำ |
plain | 25 | ตัวเลือกใดที่ผู้ลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ I. การวิเคราะห์ทางเทคนิค II. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน III. การวิเคราะห์การเงินเชิงพฤติกรรม | 1. I และ II 2. I และ III 3. II และ III 4. I II และ III | 4 | true | true | true | ผู้ลงทุนสามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ทางเทคนิค และการวิเคราะห์การเงินเชิงพฤติกรรม มาประกอบการตัดสินใจคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้ |
plain | 26 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับประเภทของหุ้นสามัญ | 1. ตลาดหุ้นที่มี penny stock จำนวนมาก จะมีความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ในตลาดมาก 2. Cyclical stock เป็นหุ้นที่อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงมากกว่าอัตราผลตอบแทนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ 3. หุ้นในกลุ่ม income stock ที่จ่ายปันผลสูงอาจสังเกตได้จากหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของ SET50 Index 4. หุ้นที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องทั้งยอดขาย และกำไร จัดเป็น growth stock | 3 | true | true | true | หุ้นในกลุ่ม income stock ที่จ่ายปันผลสูง และสม่ำเสมอ อาจสังเกตได้จากหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของ SET High Dividend 30 Index |
plain | 27 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ ความเสี่ยงที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน | 1. ความเสี่ยงทางการเงินของผู้บริหารบริษัท 2. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ 3. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย 4. ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ | 1 | true | true | true | ความเสี่ยงที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน ได้แก่ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ และความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ |
plain | 28 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ คุณสมบัติของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ | 1. มีจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 1,000 ราย 2. ก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่า 1 บาท 3. หุ้นสามัญมีมูลค่าที่ตราไว้ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท 4. มีทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญมากกว่าหรือเท่ากับ 300 ล้านบาท | 2 | true | true | true | กอ่น IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่า 0 บาท |
plain | 29 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับปัจจัยในการกำหนดมูลค่าหุ้นสามัญ | 1. อัตราคิดลดเป็นอัตราที่สะท้อนถึงอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุน 2. ความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่าสินทรัพย์ของกิจการมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยตรง 3. มูลค่าสินทรัพย์ที่นำมาใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญนั้น เป็นมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ 4. มูลค่าของหุ้นสามัญจะแปรผันโดยตรงกับกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ และระยะเวลาที่จะได้รับในอนาคต | 3 | true | true | true | มูลค่าสินทรัพย์ที่นำมาใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญนั้น เป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของกิจการที่หักภาระหนี้สินออกแล้ว |
plain | 30 | หากผู้ลงทุนคาดว่า ราคาของหลักทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่ต้องการจำกัดความเสียหายจากการลงทุนที่อาจเกิดขึ้น กลยุทธ์การลงทุนแบบ Stop loss ที่ควรใช้คือแบบใด | 1. Short หลักทรัพย์ ควบคู่ไปกับ sell-stop 2. Short หลักทรัพย์ ควบคู่ไปกับ buy-stop 3. Long หลักทรัพย์ ควบคู่ไปกับ sell-stop 4. Long หลักทรัพย์ ควบคู่ไป | 3 | true | true | true | หากผู้ลงทุนคาดว่า ราคาของหลักทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันไกล ผู้ลงทุนจะทำการซื้อ หรือ long หลักทรัพย์ ควบคู่ไปกับการส่งคำสั่งหยุดขาดทุน หรือ sell-stop เพื่อจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น |
plain | 31 | หากราคาตลาดของหุ้นอ้างอิงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ และวอร์แรนท์มีมูลค่าของเวลาเป็นบวก มูลค่าของวอร์แรนท์จะ เท่ากับเท่าใด | 1. 0 บาท 2. ราคาใช้สิทธิ 3. มูลค่าของเวลา 4. มูลค่าที่แท้จริง | 3 | true | true | true | มูลค่าของวอร์แรนท์ = มูลค่าที่แท้จริง + มูลค่าของเวลา หากราคาตลาดของหุ้นอ้างอิงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ มูลค่าที่แท้จริง = 0 บาท ดังนั้น มูลค่าของวอร์แรนท์ = 0 + มูลค่าของเวลา = มูลค่าของเวลา |
plain | 32 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับความเสี่ยงของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ | 1. ความเสี่ยงด้านราคาสูงสุดของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ คือ ราคาตลาดของหุ้นสามัญอ้างอิงปรับลดลงจน เป็นศูนย์บาท 2. โอกาสการเปลี่ยนแปลงราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะเพิ่มขึ้น เมื่อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ดังกล่าวมีอายุคงเหลือน้อยลง 3. ผู้ที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ speculative grade และเปิดเผย ในหนังสือชี้ชวน 4. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้กำหนดให้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ทุกรุ่นต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง เพราะมีความผัน ผวนของราคาสูงอยู่แล้ว | 1 | true | true | true | โอกาสในการเปลี่ยนแปลงราคาของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์จะลดลง เมื่อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ดังกล่าวมีอายุคงเหลือน้อยลง ผู้ที่จะออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้ต้องมีความน่าเชื่อถือในระดับการลงทุนขึ้นไป และเปิดเผยในหนังสือชี้ชวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ทุกรุ่นต้องมีผู้ดูแลสภาพคล่อง |
plain | 33 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยวิธีบันทึกการซื้อขาย | 1. กรณี big lot เป็นการตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีปริมาณ 1 ล้านหุ้น หรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป 2. หากมีการตกลงซื้อขายกัน ให้สมาชิกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายบันทึกรายการเข้ามาในระบบซื้อขายก่อนเพื่อจับคู่คำ สั่งซื้อขาย 3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้สมาชิกจะต้องทำการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยผ่านระบบการซื้อขายของตลาด หลักทรัพย์ฯ เท่านั้น 4. การบันทึกรายการซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการหลังปิดการซื้อขายในช่วงเวลาประจำวัน จะมีระยะเวลา ซื้อขายตั้งแต่เวลา 16.30 – 17.00 น. | 4 | true | true | true | การบันทึกรายการซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาทำการหลังปิดการซื้อขายในช่วงเวลาประจำวัน จะมีระยะเวลาซื้อขายตั้งแต่เวลาปิดการซื้อขาย - 17.00 น. |
plain | 34 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้เป็นสารสนเทศ หรือข้อมูลที่เข้าข่ายต้องเปิดเผยทันที สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ | 1. ถูกยกเลิกสัมปทาน 2. ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 3. แก้ไขข้อบังคับของบริษัท 4. เปลี่ยนแปลงนายทะเบียนหลักทรัพย์ | 1 | true | true | true | การเปลี่ยนแปลงย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ แก้ไขข้อบังคับบริษัท และการเปลี่ยนแปลงนายทะเบียนหลักทรัพย์เป็นสารสนเทศที่ให้จัดส่งภายใน 3 วันทำการ |
plain | 35 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของตราสารหนี้? | 1. ความถูกต้องในการชำระดอกเบี้ย 2. มูลค่าที่ตราไว้ หรือมูลค่าหน้าตัว 3. อัตราดอกเบี้ยตามหน้าตัว หรือที่ตราไว้ 4. เงื่อนไข และข้อตกลงที่ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตาม | 4 | true | true | true | ความถี่ในการชำระดอกเบี้ย มูลค่าที่ตราไว้ หรือมูลค่าหน้าตั๋ว และอัตราดอกเบี้ยตามหน้าตั๋ว หรือที่ตราไว้ เป็นองค์ประกอบของตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อสัญญา คือ เงื่อนไข และข้อตกลงที่ผู้ออกตราสารหนี้ต้องปฏิบัติตามไม่ใช่ผู้ลงทุน |
plain | 36 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับตราสารศุกูก? | 1. ผลตอบแทนไม่อยู่ในรูปของดอกเบี้ย 2. มีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้ทั่วไป 3. ผู้ลงทุนต้องนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น 4. เป็นไปตามหลักชาริอะห์ของศาสนาอิสลาม | 3 | true | true | true | ผู้ออกตราสาร หรือผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็สามารถออก หรือลงทุนในตราสาร กูกได้ |
plain | 37 | พันธบัตรอายุคงเหลือ ? ปี มูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ ? บาท อัตราดอกเบี้ยตามหน้าตัวเท่ากับ ?% ต่อปีโดยชำระปีละ ? ครั้ง หากผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนเท่ากับ ?% ต่อปี และราคาตลาดของพันธบัตรในขณะนี้เท่ากับ ? บาท ควรซื้อหรือไม่ เพราะเหตุใด | 1. ซื้อ เพราะราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสม 2. ซื้อ เพราะราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่เหมาะสม 3. ไม่ซื้อ เพราะราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสม 4. ไม่ซื้อ เพราะราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่เหมาะสม | 1 | true | true | true | ดอกเบี้ยรับ = 1,000 x (6%/2) = 30 บาทต่องวด i = (4%/ 2) = 2% จำนวนงวด = 2 งวด มูลค่าตราสารหนี้ = 30 / (1 + 0.02) + (1,030 / (1 + 0.02)^2) = 29.41 + 990.00 = 1,019.41 บาท ราคาตลาด = 1,015.50 ซึ่งถูกกว่า จึงควรซื้อ |
plain | 38 | หุ้นกู้ของบริษัทแห่งหนึ่ง ซื้อขายกันอยู่ที่ราคา ? บาท โดยมีอายุคงเหลือ ? ปี และมีอัตราดอกเบี้ยตามหน้าตัวเท่ากับ ?% ชำระดอกเบี้ยทุก ? เดือน อัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยของหุ้นกู้ดังกล่าวเท่ากับเท่าใด | 1. 8.00% 2. 8.33% 3. ?% 4. 9.33% | 2 | true | true | true | ดอกเบี้ย = 1,000 x 8% = 80 บาท อัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ย = (80 / 960) x 100 = 8.33% |
plain | 39 | ความเสี่ยงประเภทใดต่อไปนี้ไม่ส่งผลต่อ ผู้ลงทุนชาวไทยที่ลงทุนในหุ้นกู้สกุลเงินบาท? | 1. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ 2. ความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ 3. ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุผิดนัด 4. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน | 4 | true | true | true | ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อมีการนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนและ/หรือเงินต้นเป็นสกุลเงินต่างประเทศ |
plain | 40 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ? | 1. ปัจจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์อันดับเครดิต ได้แก่ การวิเคราะห์อัตราส่วนทาง | 3 | true | true | true | อัตราส่วนทางการเงินเป็นปัจจัยเชิงปริมาณ อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BB- ลงไปถือเป็นระดับเก็งกำไร และระดับ D เป็นระดับที่อยู่ในสภาวะผิดนัดชำระหนี้ |
plain | 41 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับดูเรชั่นและปัจจัยที่ส่งต่อดูเรชั่น | 1. เมื่อกำหนดให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไปเท่ากัน และปัจจัยอื่นคงที่ หุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาน้อยกว่าหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 2. หุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคูปองต่ำ จะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาน้อยกว่าหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคูปองสูง เมื่อปัจจัยอื่นคงที่ 3. ดูเรชั่นเป็นเครื่องมือวัดความไว หรือวัดการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกู้ ในทิศทางตรงกันข้าม 4. หุ้นกู้ที่มีดูเรชั่นสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงของราคาในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราผลตอบแทน มากกว่าหุ้นกู้ที่ดูเรชั่นต่ำกว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไปเท่ากัน | 4 | true | true | true | เมื่อกำหนดให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงไปเท่ากัน และปัจจัยอื่นคงที่ของราคา หุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า หุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคูปองต่ำ จะมีการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่าหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคูปองสูงกว่า เมื่อปัจจัยอื่นคงที่ ดิวเรชันเป็นเรื่องเพื่อวัดความไวหรือวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนในทิศทางตรงกันข้าม |
plain | 42 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับราคาตราสารหนี้ | I. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย II. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ III. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ 1. I และ II 2. I และ III 3. II และ III 4. I, II และ III | 1 | true | true | true | แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับราคาตราสารหนี้ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ |
plain | 43 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับความหมายของกองทุนรวม | 1. กองทุนรวมมีผู้จัดการบริหารเงินลงทุนให้ จึงไม่ขาดทุน 2. หน่วยลงทุนของกองทุนรวมจัดเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนประเภทหนึ่ง 3. ผลประกอบการของบลจ. ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกองทุนรวม 4. กองทุนรวมถือเป็นวิธีการลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนโดยอ้อม | 4 | true | true | true | การลงทุนในกองทุนรวมยังมีความเสี่ยงในการลงทุน และอาจขาดทุนได้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมไม่จำเป็นต้องนำมาจดทะเบียน บลจ. และกองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน ผลประกอบการของ บลจ. จึงไม่มีผลต่อตัวกองทุนรวม |
plain | 44 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้คือลักษณะของกองทุนปิด | 1. สามารถขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหลังเสนอขายครั้งแรก 2. ไม่มีความจำเป็นต้องนำกองทุนปิดไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนใหญ่ไม่มีกำหนดอายุโครงการ 3. จำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ 4. เมื่อครบอายุโครงการ บลจ. จะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยใช้เงินจากการขายทรัพย์สินในกองทุนเมื่อเลิก | 4 | true | true | true | การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดจะทำเพียงครั้งเดียว และจะระบุอย่างชัดเจนว่า กองทุนปิดนั้นมีอายุโครงการกี่ปี จำนวนหน่วยลงทุนจะคงที่ไปตลอดอายุโครงการ |
plain | 45 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก | 1. กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ 2. กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม 3. กองทุนรวมสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ 4. กองทุนรวมคอมมอดิตี้ | 2 | true | true | true | กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นกองทุนรวมตราสารทุน ไม่เข้าข่ายเป็นกองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก |